Monday, October 9, 2017

" ถามใจตัวเองดูนะ "

เราใช้เวลาไม่นาน
ในการรับ  " ใครสักคน "

เข้ามาในชีวิต
แต่เราอาจใช้เวลาทั้งชีวิต

ดึง " คน คน หนึ่ง "
ออกจากความทรงจำเหล่านั้น

ต้องกลายเป็นคนแปลกหน้า
แต่กลับนิ่งเฉยเหมือนไม่รู้สึกอะไรเลย

และต้องกลับมาเริ่มต้นทำความรู้จักกันใหม่ อีกครั้ง ...?

โดย.. ลุงใหญ่
9 ตุลาคม 2560
แรม 4 ค่ำ เดือน 11 ปีระกา
วันมะเส็งไม่ถูกกับกุน

** เนื้อหาสาระของความคิดนั้น จะผิดถูก ตรง
ไม่ตรง ดีไม่ดี อย่างไร

ก็เป็นเรื่องของความคิด และขึ้นอยู่ที่ผู้อ่านว่าจะ
ตัดสินอย่างไรด้วย เป็นสิทธิส่วนบุคคล

ลุงใหญ่  บันทึกไว้เพื่อกันลืมเท่านั้น มิได้ตั้งใจจะ
สอนอะไรกับใคร ๆ ทั้งสิ้นครับ **

อิสระที่แท้จริง

เราไม่มีสิทธิเรียกร้องอะไรใดๆ
เพื่อให้ได้มีชีวิตอยู่...

ดังนั้น ไม่ว่าชีวิตจะหยิบยื่น
อะไรมาให้  นั่นคือ ของขวัญ

ปล. จงรู้สึกขอบคุณต่อการที่มีชีวิตอยู่ให้มาก
ที่สุดเท่าที่จะทำได้ฯ

ขอบคุณสำหรับสิ่งเล็กๆ น้อยๆ
ขอบคุณเพียงเพราะการได้หายใจล้วนๆ

โดย.. ลุงใหญ่
8 ตุลาคม 2560
แรม 3 ค่ำ เดือน 11 ปีระกา
วันมะโรงไม่ถูกกับจอ

** เนื้อหาสาระของความคิดนั้น จะผิดถูก ตรง
ไม่ตรง ดีไม่ดี อย่างไร

ก็เป็นเรื่องของความคิด และขึ้นอยู่ที่ผู้อ่านว่าจะ
ตัดสินอย่างไรด้วย เป็นสิทธิส่วนบุคคล

ลุงใหญ่ บันทึกไว้เพื่อกันลืมเท่านั้น มิได้ตั้งใจจะ
สอนอะไรกับใคร ๆ ทั้งสิ้นครับ **

Wednesday, September 20, 2017

สาร์ทเดือนสิบ วันรวมญาติ ของชาวใต้ ... ไม่เคยหลับ...? แรม 15 ค่ำ เดือน 10 ของทุกปี

-: ประเพณีงานทำบุญเดือนสิบ
แรม 15 ค่ำ เดือน 10 ของทุกปี
-: ขอท้าวความ งานเดือนสิบ
หยิบมาเล่า
-: มาบอกกล่าว เยาว์ชน คนรุ่นใหม่
ให้รู้ความ เป็นมา ว่าอย่างไร
-: งานบุญใหญ่ ของชาวใต้
ให้ท่านฟัง
-: แต่แรกเริ่ม เดิมที มีตำนาน
-: คนแก่เฒ่า เล่าขาน งานสาร์ทใหญ่
ทำบุญรับ ส่งวิญญาณ จากแดนไกล
-: อุทิศให้ คนที่ตาย ได้รับบุญ
ตามคำพูด คนแก่เฒ่า เล่าให้ฟัง
-: เป็นคำสั่ง ยมพบาล อนุญาตให้
พวกผีเปรต นรกภูมิ ได้กลับไป
-: รับบุญใหญ่ เดือนสิบ ที่ญาติทำ
ขึ้นสิบห้าค่ำ ทำบุญรับ กลับเมือ
มนุษย์
-: ก่อนสิ้นสุด แรมสิบห้าค่ำ
ทำบุญใหญ่
-: ทำบุญส่ง ดวงวิญญาณ
กลับแดนไกล
-: ยกหมัรบใหญ่ เข้าวัด จัดงานบุญ
ภาชนะ ใช้ทำหมัรบ โบราณบอก
-: กระบุงสาน ตอกไม้ไผ่ ไว้ใส่ของ
มีข้าวสาร ปลาเค็ม ธูปเทียนทอง
-: เงินหัวหอม พริกกระเทียม
ที่เตรียมไว้
-: ทั้งกะปิ เกลือน้ำปลา อย่าให้ขาด
น้ำมันก๊าด หมากพูล เป็นคู่หมาย
-: ยาสามัญ ประจำบ้าน ลืมไม่ได้
ของทั้งหลาย ที่บอกมา ท่านอย่าลืม
-: สิ่งสำคัญ โบราณว่า หนมห้าอย่าง
วิญญาณใช้ เดินทาง กลับเคหา
-: หนึ่งหนมพอง ใช้แทนแพ ล่องนาวา
สองหนมลา แทนเสื้อผ้า นุ่งห่มกาย
-: สามหนมก๋ง หนมปลา ช่างน่ารัก
แทนสัญลักษณ์ เครื่องแต่งกาย
ได้ทั้งสอง
-: หนมดีซำ อย่างที่สี่ แทนเงินทอง
ไว้ซื้อของ ใช้จ่าย ได้ตามใจ
-: อย่างที่ห้า หนมบ้า คือของเล่น
มันใช้แทน ลูกสะบ้า น่าฉงน
-: ลูกสะบ้า มาเป็นชื่อ หนมมงคล
เหนือเหตุผล สุดบรรยาย ให้ท่านฟัง
-: สาร์ทเดือนสิบ วันรวมญาติ
ของชาวใต้
-: ทั้งหญิงชาย ได้กลับบ้าน งานกุศล
เป็นวัฒนธรรม ตกทอดมา หลาย
ชั่วคน
-: นี้คือเหตุผล ที่ขอกล่าว เล่าตำนาน
บุญเดือนสิบ เราชาวใต้ ไม่เคยหลับ
-: เตรียมจัดหมัรบ หนมพองลา
พาไปวัด
-: ทั้งหนุ่มสาว คนเฒ่าแก่ ช่วยกันจัด
แห่เข้าวัด ตามประเพณี ที่สืบมา
-: จัดหมัรบเสร็จ จัดธง ไว้ตรงกลาง
พ่อแม่นั่ง ยกทูลเกล้า กล่าวอุทิศ
-: ขอผลบุญ ที่ประสงค์ จงดลจิต
ให้ญาติมิตร ที่ล่วงลับ ได้รับไป
-: ทำให้ญาติ ที่ล่วงลับ ได้มีสุข
พ้นจากทุกข์ นรกภูมิ ขึ้นสวรรค์
-: บุญที่ทำ ช่วยล้างบาป ให้โดยพลัน
ยมพบาล ลบชื่อให้ ได้หมดกรรม
-: นี้แหละบุญ เดือนสิบ หยิบมาเล่า
คนหนุ่มสาว ได้รู้ซึ่ง ถึงความหมาย
-: เกิดเป็นคน ควรทำดี กันเอาไว้
เราชาวใต้ ควรศึกษา ประเพณี
-: ก่อนวันงาน โทรไป บอกให้ทั่ว
ได้เตรียมตัว ก่อนกลับบ้าน
งานเดือนสิบ
-: ญาติพี่น้อง ที่อยู่ไกล คนใกล้ชิด
สาร์ทเดือนสิบ ให้กลับบ้าน
กันทุกคน
-: พ่อกับแม่ คนแก่เฒ่า เฝ้าคอยหลาน
ลูกกลับบ้าน วันไหน ใจห่วงหา
-: สาร์ทเดือนสิบ แรมสิบห้าค่ำ
ตาม ตำราไม่รู้ว่า ลูกกลับบ้าน
กันกี่คน
-: ถ้าลูกหลาน รู้ข้างใน ใจพ่อแม่
ตายายแก บอกไว้ นั้นไม่ผิด
-: ปู่กับย่า สั่งไว้ก่อน เสียชีวิต
สาร์ทเดือนสิบ ให้ลูกหลาน
กลับทำบุญ
-: ถ้าให้ดี ช่วยกันบอก ปากต่อปาก
บุญกับบาป ไม่มีขาย อยากได้ทำ
-: สาร์ทเดือนสิบ ปีละหน ทุกคนจำ
แรมสิบค่ำ เชิญท่านมา ทำบุญที่
วัด ด้วยครับผม ...?
-: งานบุญเดือนสิบ...จบเฒ่านี้ครับ
โดย.. ลุงใหญ่
20 กันยายน 2560
แรม 15 ค่ำ เดือน 10 ปีระกา
วันจอไม่ถูกกับมะโรง
** เนื้อหาสาระของความคิดนั้น
จะผิดถูก ตรง ไม่ตรง ดีไม่ดี
อย่างไร ก็เป็นเรื่องของความคิด
และขึ้นอยู่ที่ผู้อ่านว่าจะตัดสินอย่างไรด้วย
เป็นสิทธิส่วนบุคคล
ลุงใหญ่ บันทึกไว้เพื่อกันลืมเท่านั้น
มิได้ตั้งใจจะสอนอะไรกับใคร ๆ
ทั้งสิ้นครับ **





.. เล่าเฒ่าที่รู้ .. "สี่แผ่นดิน" ตอนที่ ๓


.. เล่าเฒ่าที่รู้ .. "สี่แผ่นดิน" ตอนที่ ๓

"ตำหนักแพ"

 .. ระหว่างทางที่แม่แช่มพาพลอยนั่งเรือ
จากบ้านฟากข้างโน้น ริมคลองบางหลวง
ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยามานั้น พลอยเห็นอาคารหลังหนึ่ง หลังคามุงกระเบื้อง
มีช่อฟ้าปิดทองงามระยับอยู่ริมตลิ่
จึงถามแม่ว่า "แม่จ๋า นั่นอะไรน่ะแม่"
แม่แช่มตอบว่า "ตำหนักแพไงลูก"

.. ตำหนักแพที่แม่แช่มตอบพลอยนั้นก็
คือ ชื่อสามัญที่ใช้เรียกท่าราชวรดิฐ ซึ่ง
เป็นท่าน้ำสำหรับเสด็จประทับเรืิอพระที่นั่ง

.. ตำหนักแพหรือท่าราชวรดิฐ เป็นหมู่พระตำหนักน้ำ
อยู่ด้านตะวันตกของพระบรมมหาราชวัง ตอนสมัยต้นรัตนโกสินทร์
เป็นเพียงตำหนักเล็กๆ สร้างยื่นลงไปใน
แม่น้ำเจ้าพระยาทอดคานเป็นทางเดิน
เหมือนเรืิอนแพ จึงเรียกพระตำหนักแพ
ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็พระจอม
เกล้าเจ้าอยู่หัว ตัวพระตำหนักทรุดโทรม
จึงโปรดให้รื้อและสร้างขึ้นใหม่ ครั้งนี้โปรด
ให้ลงเขื่อนถมและปรับที่ให้เสมอกันสร้างเป็น
หมู่พระที่นั่งใหม่อย่างงดงาม ประกอบด้วยพระที่นั่ง
ทิพยสถานเทพสถิตย์ พระที่นั่งราชกิจวินิจฉัย
พระที่นั่งอนงค์ในสราญรมย์ และพระที่นั่งชลังคพิมาน
โปรดพระราชทานนามบริเวณนั้นทั้งหมดว่า "ท่าราชวรดิฐ์"
อาคารที่พลอยมองเห็นและชี้ให้แม่แช่ม
ดูนั้น น่าจะเป็นพระที่นั่งชลังคพิมาน เพราะเป็นพระที่นั่งองค์เล็ก
อยู่ริมน้ำ สร้างด้วยไม้หลังคามุงกระเบื้องเกล็ดเต่า
มีช่อฟ้าใบระกานาคสะดุ้ง หน้าบันประดับกระจก
จึงทำให้ดู "งามระยับอยู่ริมตลิ่ง"

.. ปัจจุบันพระที่นั่งส่วนใหญ่ในท่าราชวรดิฐ
ถูกรื้อเพราะทรุดโทรดลง คงเหลือแต่พระ
ที่นั่งราชกิจวินิจฉัย เพียงองค์เดียว ..

ปล. ท่าราชวรดิฐ ปี พ.ศ. 2438 .….
ท่าราชวรดิฐ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา
ด้านหน้าพระที่นั่งราชกิจวินิจฉัย ถนนมหาราช
 แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ท่าราชวรดิฐ
เป็นท่าเทียบเรือพระทีนั่ง ตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกของพระบรมมหาราชวัง
เดิมเป็น ที่ตั้งของพระตำหนักน้ำซึ่งสร้างในรัชสมัย
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เป็นตำหนักปักเสาลงในน้ำ ทอดคาน
เหมือนเรือนแพ มีหลังคามุงกระเบื้อง
ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้รื้อตำหนักของเดิมเสีย แล้วลงเขื่อนถมที่ขึ้นเสมอพื้นดิน และสร้างพระที่นั่งขึ้นหมู่หนึ่งเป็นพลับพลาสูงตรงกลางองค์หนึ่ง พระราชทานนามว่า พระที่นั่งชลังคพิมานต่อพลับพลาสูงเข้าไปทางด้านตะวันออก มีพระที่นั่งสูงเป็นที่ประทับองค์หนึ่ง พระราชทานนามว่า พระที่นั่งทิพยสถานเทพสถิต พระที่นั่งข้างเหนือลดพื้นต่ำลงมาเป็นท้องพระโรงฝ่ายหน้าองค์หนึ่ง พระราชทานนามว่า พระที่นั่งราชกิจวินิจฉัย มีพระที่นั่งข้างใต้เหมือนกันกับองค์ข้างเหนือเป็นที่พักฝ่ายใน พระราชทานนามว่าพระที่นั่งอนงค์ในสราญรมย์ ส่วนตรงหน้าพระที่นั่งชลังคพิมานใต้ท่าเสด็จลงเรือ โปรดเกล้าฯ ให้ก่อเขื่อนทำสระเป็นที่สรงสระหนึ่งก่อกำแพงเป็นบริเวณข้างในทั้ง 3 ด้านมีป้อมริมน้ำปลายแนวกำแพงด้านเหนือ พระราชทานนามว่าป้อมพรหมอำนวยศิลป์ ป้อมข้างใต้ตรงชื่อ ป้อมอินทร์อำนวยศร และโปรดเกล้าฯ ให้เรียกรวมกันทั้งบริเวณว่า ท่าราชวรดิฐ แปลว่า ท่าอันประเสริฐของพระราชา ข้างเหนือขึ้นไปทำท่าสำหรับเรือข้าราชการอีกท่าหนึ่ง โปรดเกล้าฯ ให้เรียกว่า ท่านิเวศน์วรดิฐ ซึ่งปัจจุบันเป็นท่าเรือรับส่งข้าราชการทหารเรือและประชาชนทั่วไปข้ามฟากแม่น้ำเจ้าพระยาจากฝั่งพระนครไปยังฝั่งธนบุรีขึ้นตรงท่าของกรมอู่ทหารเรือ ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระที่นั่งในบริเวณท่าราชวรดิฐชำรุดจึงโปรดเกล้าฯ ให้ซ่อมรักษาพระที่นั่งราชกิจวินิจฉัยไว้ นอกนั้นให้รื้อเสีย ปัจจุบันท่าราชวรดิฐยังเป็นที่เสด็จประทับในการเสด็จโดยกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค...

เรื่องจริงของจริงใน "สี่แผ่นดิน" ตอนที่ ๓ 

 โดย.. ลุงใหญ่ 

 ๐๘ มกราคม ๒๕๕๖ 

** เนื้อหาสาระของความคิดนั้น จะผิด ถูก ตรง ไม่ตรง
ดี ไม่ดี อย่างไร ก็เป็นเรื่องของความคิด

และขึ้นอยู่ที่ผู้อ่านว่าจะตัดสินอย่างไร เป็นสิทธิส่วนบุคคล

ลุงใหญ่ บันทึกไว้เพื่อกันลืมเท่านั้น 

มิได้ตั้งใจจะสอนอะไรกับใครๆ ทั้งสิ้นครับ **









.. เล่าเฒ่าที่รู้ .. "สี่แผ่นดิน" ตอนที่ ๒


.. เล่าเฒ่าที่รู้ .. "สี่แผ่นดิน" ตอนที่ ๒

 คลองบางหลวง กับ บ้านฟากข้างโน้น

.. ในเรื่อง สี่แผ่นดิน ผู้ประพันธ์ได้สมมุติ
ให้เจ้าคุณพ่อของพลอยคือ พระยาพิพิธฯ ตั้งบ้านเรือนอยู่ริมคลองบางหลวง ..?

... @.. คลองบางหลวง คืออีกชื่อหนึ่งของ
"คลองบางกอกใหญ่" สาเหตุที่เรียกว่า
คลองบางหลวง สันนิษฐานว่า ครั้งเมื่อ
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้สถา
ปนากรุงธนบุรีขึ้นเป็นราชธานี มีพวก
ข้าราชสำนักซึ่งถือว่าเป็นคนของหลวง
พากันมาตั้งบ้านเรือนอยู่อย่างหนาแน่น
สองฟากฝั่งคลองบางกอกใหญ่ คนทั่วไป
จึงเรียกชื่อคลองตอนที่คนของหลวงตั้ง
บ้านเรือนอยู่ว่า คลองบางหลวง

.. มีผู้สันนิษฐานอีกอย่างหนึ่งว่า ชื่อคลอง
บางหลวง มาจากชื่อบางหลวง ซึ่งเป็นชื่อ
สถานที่หนึ่งที่คลองบางกอกใหญ่ผ่าน
จึงมีผู้เรียกตามชื่อสถานที่นั้นว่า คลองบาง
หลวง แต่จะอย่างไรก็ตาม ปัจจุบันคนทั่วไป
ก็ยังใช้ทั้งสองชื่อเรียกคลองสายนี้ตามความถนัดหรือเคยชินของตน

.. คำว่า บ้านฟากข้างโน้น ในเรื่องสี่แผ่นดิน
ใช้แทนคำเรียกพระยาพิพิธฯ พ่อของพลอย

เป็นที่รู้กันทั่วไปในสมัยนั้นว่า บ้านฟากข้างโน้น
หมายถึง บ้านของพวกตระกูลบุนนาค
ซึ่งมีประวัติตระกูลเก่าแก่ สืบเชื้อสายจาก
"เฉกอะหมัด" พ่อค้าชาวเปอร์เซียที่เข้ามา
ค้าขายในไทยสมัยอยุธยา ปลายรัชสมัย
สมเด็จพระเอกาทศรถ และเลยตั้งบ้าน
เรือนอยู่ถาวร ทำคุณประโยชน์ไว้แก่บ้าน
เมือง จนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์
เป็น"เจ้าพระยาเฉกหมัดรัตนราชมนตรี"
มีบุตรหลานสืบต่อมา จนถึงนายบุนนาค
ถือเป็นต้นตระกูลบุนนาค เป็นสหายสนิท
กับนายทองด้วง ตั้งแต่ครั้งเยาว์วัย


 .. เมื่อนายทองด้วงได้รับพระราชทาน
บรรดาศักดิ์ สมเด็จเจ้าพระยามหา
กษัรตริย์ศึก นายบุนนาคทำหน้าที่เป็นทนายหน้าหอ รับใช้ใกล้ชิด

ร่วมทำศึกกับพม่าหลายครั้ง ภายหลังภรรยาเสียชีวิต
นายบุนนาคได้สมรสกับคุณนวล ซึ่งเป็น
น้องสาวของท่านผู้หญิงนาค ภรรยาสมเด็จ
เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก จึงมีความสนิทสนมผูกพันเพิ่มขึ้น คือ เป็นทั้งเพื่อน และ
เป็นทั้งข้าและเกี่ยวดองเป็นญาติ คือ
เขยใหญ่ เขยน้อย


 .. เมื่อสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก
ปราบดาภิเษกเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็น
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
ปฐมกษัตริย์แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี
นายบุนนาคก็ได้รับพระราชทานบรรดา
ศักดิ์สูงสุด เป็นเจ้าพระยามหาเสนา และ
ได้ถวายบุตรธิดาคนโตซึ่งเกิดจากภรรยา
เก่า คือ คุณตานี เป็นเจ้าจอม ทำให้ความ
ผูกพันของราชวงศ์จักรี และตระกูลบุนนาค
ยิ่งกระชับแน่นเป็นทวีคูณ บุตรหลานที่เกิด
ในยุคนั้นถือเป็นราชินิกุล ได้เข้ารับราชการ
ใกล้ชิดเบื้ิองยุคลบาททั้งราชสำนักฝ่ายหน้า
และฝ่ายใน


 .. ส่วนการที่เรียกพวกตระกูลบุนนาคว่า
"บ้านฟากข้าวโน้น" มีสาเหตุมาจากครั้ง
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โปรดสถา
ปนากรุงธนบุรี เป็นเมืองหลวงนั้น บรรดา
ข้าราชการทั้งหลายต่างก็ปลูกสร้างเคหะ
สถานอยู่รอบๆ พระราชวัง ณ กรุงธนบุรี
รวมทั้งสมเด็จเจ้าพระยายมหากษัตริย์ศึก
และนายบุนนาค จนเมื่อสมเด็จเจ้าพระยา
มหากษัตริย์ศึกปราบดาภิเษกเถลิงถวัลย
ราชสมบัติแล้ว โปรดให้ย้ายเมืองหลวงจาก
กรุงธนบุรี มาอยู่คนละฟากแม่น้ำเจ้าพระยา
ที่กรุงเทพฯ แต่พวกตระกูลบุนนาคมิได้ย้ายตามมาด้วย
คงตั้งหลักปักฐานมั่นคงจับจอง
ที่ดินสร้างบ้านเรือนขยายอาณาเขตกว้าง
ขวางอยู่ ณ กรุงธนบุรี ดังปรากฎหลักฐาน
เป็นชื่อสถานที่สำคัญในปัจจุบัน มีทั้งชื่อถนน
เช่น ถนนสมเด็จเจ้าพระยา ซึ่งมีเคหะ
สถานของสมเด็จเจ้าพระยาตระกูลบุนนาค
อยู่ถึง ๓ ท่าน ชื่อวัด เช่น วัดประยูรวงศา
วาสวรวิหาร เป็นวัดที่สมเด็จเจ้าพระยาของ
ตระกูลบุนนาคสร้าง เป็นต้น กล่าวได้ว่า
ในสมัยนั้นคนในตระกูลบุนนาคส่วนใหญ่
อาศัยอยู่ทางฝั่งธนบุรี ดังนั้น เมื่อคนฝั่ง
พระนครเอ่ยถึงผู้คนตระกูลบุนนาค จึงมักเรียกรวมๆ ว่า "บ้านฟากข้างโน้น" และ
เลยกลายเป็นชื่อที่คนทั่วไปรู้กันว่าหากพูด
ถึง "บ้านฟากข้างโน้น" ก็หมายถึง คนหรือ
พวกตระกูลบุนนาค ...!

 ปล.
๑. คลองบางหลวง หรือ บางคนที่เรียกว่า
"คลองบางกอกใหญ่" ก็คือ ลำคลองที่แยก
ออกมาจากแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงป้อมพระ
วิเศษประสิทธิ์ และ วัดอรุณราชวราราม
แต่ถ้าเป็น ตำบลบางหลวง อยู่ที่ อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ..?

 ๒. คลองบางหลวง มีชื่อเป็นทางการว่า
"คลองบางกอกใหญ่"

 ๓. รูปที่แนบมามีรายละเอียดดังนี้คือ
รูปที่ ๑ คือ รูปบ้านเรือนริมคลองบางหลวงในสมัยก่อน
รูปที่ ๒ คือ รูปวัดอรุณราชวราราม
รูปที่ ๓ คือ รูปป้อมพระวิเศษประสิทธิ์พระราชวังเดิม
รูปที่ ๔ คือ รูปคลองบางหลวงในปัจจุบัน

@ โอ้ ... บางหลวง
นามนี้พี่ครองรักหนักหน่วง
พี่หวงเนิ่นนานบางหลวงฝั่งคลอง
ให้พี่ .. หมองใจตื้นตัน
บางหลวงหน่วงใจพี่ฝัน ฝัน สัมพันธ์เสมอ@

เรื่องจริงของจริงใน "สี่แผ่นดิน" ตอนที่ ๒

 โดย.. ลุงใหญ่
 ๐๕ มกราคม ๒๕๕๖

** เนื้อหาสาระของความคิดนั้น จะผิด ถูก ตรง ไม่ตรง
ดี ไม่ดี อย่างไร ก็เป็นเรื่องของความคิด

และขึ้นอยู่ที่ผู้อ่านว่าจะตัดสินอย่างไร เป็นสิทธิส่วนบุคคล

ลุงใหญ่ บันทึกไว้เพื่อกันลืมเท่านั้น 
มิได้ตั้งใจจะสอนอะไรกับใครๆ ทั้งสิ้นครับ **










.. เล่าเฒ่าที่รู้ .. "สี่แผ่นดิน" ตอนที่ ๑


.. เล่าเฒ่าที่รู้ .. "สี่แผ่นดิน" ตอนที่ ๑

นิยายเรื่อง  "สี่แผ่นดิน" ผู้ประพันธ์โดย
ท่านพลตรีหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช
นวนิยายเรื่ิองนี้ เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริง
ในสถานที่จริง และเกิดขึ้นกับบุคคลจริงๆ

... เพราะทั้งเหตุการณ์ สถานที่ บุคคล และ
ตลอดจนรายละเอียดต่างๆ ผู้ประพันธ์ได้
บรรจงแทรกสอดไว้ทุกบททุกตอนนั้นล้วน
อิงอยู่กับเรื่องจริงของจริงในประวัติศาสตร์
ที่ปรากฎอยู่ในนวนิยายเรื่องนี้ ซึ่งถ้าเป็น
เหตุการณ์ก็ผ่านไปนานแล้ว ถ้าเป็นบุคคล
ก็ล้มหายตายจากหมดแล้ว...?

@ "สี่แผ่นดิน"
นวนิยายที่ใช้ฉาก และ เรื่องจริงของจริง
เรื่องราวที่เกิดขึ้นในพระบรมมหาราชวัง
ภาพที่เห็นนี้คือ
ท่าราชวรดิษฐ์และพระบรมมหาราชวัง


เรื่องจริงของจริงใน "สี่แผ่นดิน" ตอนที่ ๑
 
โดย.. ลุงใหญ่ 
 ๐๔ มกราคม ๒๕๕๖

** เนื้อหาสาระของความคิดนั้น จะผิด ถูก ตรง ไม่ตรง
ดี ไม่ดี อย่างไร ก็เป็นเรื่องของความคิด

และขึ้นอยู่ที่ผู้อ่านว่าจะตัดสินอย่างไร เป็นสิทธิส่วนบุคคล

ลุงใหญ่ บันทึกไว้เพื่อกันลืมเท่านั้น 
มิได้ตั้งใจจะสอนอะไรกับใครๆ ทั้งสิ้นครับ **





Tuesday, September 19, 2017

กับบางคน ... ไม่ว่าความสัมพันธ์จะจบมานานเท่าไหร่

การยอมรับความจริง และ อยู่กับมันให้ได้

เป็นวิธีเดียว ... ที่จะทำให้เรากลับมี  "ความสุข"  อีกครั้ง

คือ ... การเดินออกมาให้ทัน

ในวันที่หัวใจของเรายังไม่พัง ... ไปมากกว่านี้ ...

เพราะสุดท้าย ...   " เรา ต้อง อยู่ กับ ปัจจุบัน " 


โดย.. ลุงใหญ่
19 กันยายน 2560 
แรม 14 ค่ำ เดือน 10 ปีระกา
วันระกาไม่ถูกกับเถาะ

** เนื้อหาสาระของความคิดนั้น จะผิดถูก ตรง ไม่ตรง ดีไม่ดี
อย่างไร ก็เป็นเรื่องของความคิด 

และ ขึ้นอยู่ที่ผู้อ่านจะตัดสินอย่างไรด้วย เป็นสิทธิส่วนบุคคล

ลุงใหญ่ บันทึกไว้ เพื่อกันลืมเท่านั้น มิได้ตั้งใจจะสอนอะไรกับใคร ๆ ทั้งสิ้นครับ **